ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

การบุกครองทิเบตของอังกฤษ พ.ศ. 2446

การรุกรานทิเบตของอังกฤษ ใน พ.ศ. 2446 และ 2447 เป็นการรุกรานทิเบตด้วยกำลังทหารของกองกำลังผสมอังกฤษ-อินเดีย มีเป้าหมายเพื่อเข้าขัดขวางการเข้ามามีอิทธิพลของจักรวรรดิ์รัสเซียในเอเชียกลาง ไม่ให้ครอบงำถึงทิเบต และทำให้ทิเบตเป็นรัฐกันชนระหว่างจักรวรรดิของอังกฤษ และ รัสเซียเช่นเดียวกับที่อังกฤษเคยทำกับอัฟกานิสถานมาก่อนหน้านี้ เมื่ออังกฤษประสบความสำเร็จในการเข้าไปตั้งกองทหารในทิเบต ผลสะท้อนจากการรุกรานนี้ไม่เป็นในทางที่ดีนัก ผลจากการรุกรานทำให้อังกฤษเข้าไปแทรกแซงทิเบตในด้านการค้า อย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ. 2453 รัฐบาลจีนส่งกองทหารเข้าไปในทิเบตและสถาปนาอำนาจของตนขึ้นอีกครั้ง

ต้นเหตุของการรุกรานนี้ยังไม่ชัดเจน สันนิษฐานว่าเกิดจากความระแวงของอังกฤษว่ารัฐบาลจีนยอมให้รัสเซียเข้ามามีอิทธิพลในทิเบตซึ่งทำให้รัฐกันชนระหว่างอังกฤษกับอินเดียทางด้านเหนือต้องเสียไป จึงเป็นเหตุให้ตัวแทนรัฐบาลอังกฤษในอินเดียส่ง พ.ท. ฟรานซิส ยังฮัสแบนด์ เคลื่อนกำลังพลเข้าไปยังคัมเบอร์ โจว หมู่บ้านเล็กๆของทิเบตที่อยู่ทางเหนือของสิกขิม เพื่อพบกับผู้แทนจากจีนและทิเบตและจะได้ทำข้อตกลงทางการค้า การรุกรานเริ่มขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2446 แต่จนกระทั่งเดือนพฤศจิกายนยังไม่มีตัวแทนจากจีนหรือทิเบตมาพบตามข้อเรียกร้อง ลอร์ดครูซอน ข้าหลวงอังกฤษในอินเดียขณะนั้นจึงตัดสินใจให้เคลื่อนพลเข้าไปยังลาซา

รัฐฐาลของทิเบตนำโดยทะไล ลามะไม่สบายใจเมื่อรู้ว่ามีกองทหารต่างชาติกำลังมุ่งหน้ามายังเมืองหลวง การคาดหวังความช่วยเหลือจากจีนในขณะนั้นเป็นไปได้ยาก จึงต้องจัดตั้งกองทหารของตนเอง การยกทัพของอังกฤษผ่านเขตเทือกเขาส่วนใหญ่ใช้ทหารชาวกุรข่านและชาวปาทาน จำนวนกองพลอังกฤษมีทหารราว 3,000 คน ชาวเชอร์ปาอีกราว 7,000 คน ช่วยในการลำเลียง

การเริ่มต้นเคลื่อนทัพออกจากเมืองนาตอง (Gnatong) ในสิกขิมเมื่อ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2446 โดยทางอังกฤษมีการเตรียมการอย่างดีจากประสบการณ์ที่เคยเข้าสู่สนามรบตามแนวชายแดนอินเดียมาก่อน อุปสรรคครั้งแรกของการยกทัพเกิดขึ้นเมื่อ 31 มีนาคม พ.ศ. 2446 เมื่อผ่านคุรุ ใกล้ทะเลสาบภันโซ

ทางทิเบตจัดตั้งกองทหารไว้ที่คุรุ แม่ทัพของฝ่ายทิเบตพยายามออกมาเจรจากับยังฮัสแบนด์และแมคโดนัลล์ แมคโดนัลล์ปฏิเสธไม่ยอมรับคำเตือนของทหารทิเบตและส่งทหารชาวสิกข์กับชาวกุรข่าเข้าปลดอาวุธทหารทิเบต จึงเกิดการสู้รบกัน สาเหตุของการสู้รบที่แน่ชัดไม่มีหลักฐานแน่นอน ฝ่ายอังกฤษกล่าวอ้างว่า ฝ่ายทิเบตแสดงความโกรธและยิงทหารชาวสิกข์ในกองทัพอังกฤษก่อน ส่วนฝ่ายทิเบตกล่าวว่าฝ่ายอังกฤษกลั่นแกล้งทิเบตและเป็นฝ่ายเริ่มยิงก่อน

แม้ว่าความจริงเกี่ยวกับการเริ่มต้นการต่อสู้ยังไม่แน่ชัดแต่การต่อสู้ก็ไม่ดำเนินไปนานนัก เมื่อมีการปลดอาวุธ ฝ่ายทิเบตมีความพยายามจะเปิดการเจรจาอีกครั้ง แต่ก็ยังมีความสับสนวุ่นวาย นำไปสู่การปล้นสะดมหมู่บ้านของทหารชาวสิกข์และกุรข่า เมื่อการโจมตีสิ้นสุดลง ฝ่ายทิเบตสูญเสียกำลังพลไป 600 - 700 คน บาดเจ็บ 168 คน โดยมี 148 คนถูกจับเป็นนักโทษในกองทัพอังกฤษ ส่วนฝ่ายอังกฤษมีทหารบาดเจ็บจำนวนหนึ่งรวมทั้งทหารชาวสิกข์ที่ถูกยิงเมื่อเริ่มการโจมตีด้วย

กองทัพของแมคโดนัลล์เคลื่อนผ่านแนวป้องกันที่กัวมาได้อีกในอีกหนึ่งสัปดาห์ต่อมา และพยายามเคลื่อนทัพต่อไปแม้ว่า Red Idol Gorege จะพยายามยับยั้ง เมื่อ 9 เมษายน แมคโดนัลล์สั่งให้กองทัพเข้าโจมตีกองทหารทิเบต ผลของการโจมตีฝ่ายทิเบตเสียชีวิต 200 คน ส่วนความเสียหายของอังกฤษมีน้อยมาก

กองทัพของแมคโดนัลล์ยังคงคืบหน้าต่อไป และพบกับการต่อต้านของกองทหารทิเบตเป็นระยะๆ วันที่ 5 พฤษภาคม พบกับกองทหารที่ชังโลซึ่งมีกำลังพล 800 คน ผลปรากฏว่าฝ่ายทิเบตแพ้ เสียทหารไป 160 คน วันที่ 9 พฤษภาคม เกิดการสู้รบอีกครั้ง และฝ่ายทิเบตเป็นฝ่ายถอนกำลังหนีไป

อีก 2 เดือนต่อมา แมคโดนัลล์ตั้งค่ายทหารที่ชังโล และปราบปรามกองทหารทิเบตกลุ่มย่อยๆในบริเวณนั้นได้เด็ดขาด ซึ่งถือเป็นการเปิดทางให้เข้าโจมตีลาซาได้สะดวกขึ้น การตอบสนองของทิเบตรุกรานนี้ไม่ทันการณ์และไร้ประสิทธิภาพเพราะขาดอาวุธและประสบการณ์

กยันเซ ยองถือเป็นจุดที่ตั้งของกองทหารทิเบตที่ดีที่สุด ฝ่ายอังกฤษเริ่มโจมตีเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม จนถึงวันที่ 6 กรกฎาคมจึงยึดได้สำเร็จในเวลากลางคืน ชัยชนะครั้งนี้ทำให้อังกฤษควบคุมเส้นทางเข้าสู่ลาซาได้สะดวกยิ่งขึ้น

ยังฮัสแบนด์นำกองทหารราว 2,000 คนบุกเข้าลาซาโดยไม่ได้ทิ้งกองระวังหลังไว้ในสิกขิม กองทัพเข้าถึงลาซาเมื่อ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2447 เข้าควบคุมการบริหารงานของทะไล ลามะ และรัฐบาลทิเบตไว้ได้ทั้งหมด บังคับให้ทิเบตลงนามในสนธิสัญญาเพื่อขอโทษที่เป็นฝ่ายเริ่มสงคราม ชดใช้ค่าเสียหาย และอนุญาตให้อังกฤษเข้าไปทำการค้า ตริ รินโปเช ผู้สำเร็จราชการในทิเบตแทนทะไล ลามะที่ลี้ภัยในระหว่างนั้นยอมตามข้อความในสนธิสัญญาทุกข้อ

กองทหารอังกฤษถอนทหารออกจากทิเบตในช่วงปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2447 แต่ทั้งสองฝ่ายก็ไม่เป็นสุขจากผลของสงครามครั้งนี้ อังกฤษเป็นฝ่ายชนะและบังคับให้ทิเบตลงนามในข้อตกลงที่อังกฤษต้องการแต่ข้อตกลงนั้นไม่เคยปฏิบัติได้จริง ทิเบตเป็นฝ่ายแพ้แต่ก็ทำให้เห็นว่าจีนอ่อนแอเกินกว่าที่จะปกป้องรัฐที่ตนประกาศว่าอยู่ในความดูแลของตน รายงานความสูญเสียอย่างเป็นทางการของทั้งสองฝ่ายไม่มีเอกสารระบุไว้

ปฏิกิริยาจากทางลอนดอนต่อสงครามเป็นไปในทางประณามอย่างรุนแรงซึ่งเป็นผลมาจากการที่พลเรือนในยุคนั้นไม่นิยมสงคราม มีเพียงราชสำนักที่ยกย่องวีรกรรมของทหารที่เข้าร่วมสงครามครั้งนี้ ความสูญเสียรวมทั้งหมดของอังกฤษสูญเสียทหาร 202 คน จากการสู้รบ และ 411 คนจากเหตุการณ์อื่น ความสูญเสียที่แท้จริงของทิเบตไม่มีการคำนวณไว้ แต่น่าจะมีหลายพันคนจากการปะทะกันถึง 16 ครั้งตลอดยุทธการ

โดยข้อเท็จจริงแล้ว ทิเบตไม่สามารถที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงกับอังกฤษได้ทั้งหมด ทิเบตไม่ใช่ศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ และไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในประเทศอย่างรุนแรง อังกฤษพยายามบังคับให้ทิเบตทำตามสนธิสัญญาใน พ.ศ. 2459 แต่ก็ไม่สำเร็จทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทิเบต พ.ศ. 2463 รัฐบาลทิเบตถูกโจมตีจากจีนซึ่งเป็นผลจากการปฏิวัติซิงไห่เพื่อล้มล้างราชวงศ์ชิง เมื่อจีนถอนทหารออกไปเมื่อ พ.ศ. 2466 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้ความสนใจเอเชียกลางของชาติตะวันตกลดน้อยลง ในขณะที่มีความสนใจของพรรคคอมมิวนิสต์ในรัสเซียเข้ามาแทนที่ พ.ศ. 2493 ทั้งอังกฤษและอินเดียไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเข้ายึดครองทิเบตของพรรคคอมมิวนิสต์จีน


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

แรง (ฟิสิกส์) ความยาว การเคลื่อนที่ ทฤษฎีเคออส กลศาสตร์แบบลากรางช์ เอนริโก แฟร์มี สมมาตรยิ่งยวด CERN Large Hadron Collider ไอน์สไตน์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป กาลิเลโอ ฟิสิกส์อนุภาค วิศวกรรมวัสดุ เซมิคอนดักเตอร์ นาโนเมตร วัสดุนาโน วัสดุฉลาด วัสดุเชิงก้าวหน้า วัสดุชีวภาพ พอลิเมอร์ เซรามิก สเปกโตรสโกปี อุณหเคมี ไฟฟ้าเคมี เคมีเชิงฟิสิกส์ โลหะอินทรีย์เคมี เคมีพอลิเมอร์ เคมีนิวเคลียร์ ชีววิทยาโมเลกุล เคมีเวชภัณฑ์ เคมีดาราศาสตร์ เคมีไคเนติกส์ สารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบเคมี สารประกอบ John Dalton ทฤษฎีโฟลจิสตัน อ็องตวน ลาวัวซีเย Robert Boyle ปฏิกิริยาเคมี รายชื่อคณะวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย เคมีสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม Social psychology วิทยาศาสตร์สังคม เทคนิคการแพทย์ เวชศาสตร์ พยาธิวิทยา เนื้องอกวิทยา ทัศนมาตรศาสตร์ Pharmacy บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ วิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา สารสนเทศศาสตร์ วิทยาการสารสนเทศ สัตววิทยา วิทยาไวรัส ประสาทวิทยาศาสตร์ อณูชีววิทยา จุลชีววิทยา วิทยาภูมิคุ้มกัน มีนวิทยา มิญชวิทยา กีฏวิทยา Developmental biology วิทยาเซลล์ ชีววิทยาของเซลล์ วิทยาแผ่นดินไหว ชลธารวิทยา สมุทรศาสตร์ เคมีความร้อน เคมีไฟฟ้า เคมีการคำนวณ เคมีวิเคราะห์ Particle physics พลศาสตร์ของไหล พลศาสตร์ สวนศาสตร์ ฟิสิกส์เชิงทฤษฎี โป๊ป ความเรียง เรอเน เดส์การตส์ การสังเกต การทดลอง ฟรานซิส เบคอน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความรู้เชิงประจักษ์ คณิตตรรกศาสตร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ไม้บรรทัด กระดูกนาเปียร์ ลูกคิด การแข่งขันคณิตศาสตร์ รางวัลอาเบล เหรียญฟิลด์ส ปัญหาของฮิลแบร์ท กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี ข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร สมมติฐานความต่อเนื่อง

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
240
241
242
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 24187